การดูแลตัวเองเมื่อเป็นเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมโรคได้ไม่ดี หรือมีโรคอื่นๆ ร่วมด้วยจะมีสุขภาพที่ไม่แข็งแร เนื่องจากเบาวานเป็นโรคเรื้อรัง มีผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะทุกระบบทั่วร่างกาย ถ้าผู้ป่วยมีน้ำตาลสูงตลอดเวลาจะมีความต้านทานโรคต่ำ ติดเชื้อง่าย การดูแลตัวเองให้ถูกสุขลักษณะจะสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ไม่ต้องการเหล่านี้ได้
หลักการทั่วไปในการดูแลสุขภาพ
1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 2. ออกกำลังกาย และหางานอดิเรกทำเพื่อลดความเครียด 3. ควบคุมและรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ด้วยวิธีการปรับหรือลดอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 4. พกบัตรประจำตัวว่าท่านเป็นโรคเบาหวาน มีชื่อยาและขนาดของยาที่ใช้ 5. ควรเลิกเหล้า บุหรี่ หรือสิ่งเสพติด
การดูแลสุขภาพอนามัยทั่วไป และช่องปาก-ฟัน
1.อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง รักษาความสะอาดบริเวณรักแร้ ขาหนีบ ใต้ราวนม อวัยวะขับถ่ายอย่างให้ชื้นแฉะ และถ้าผิวแห้งควรใช้ครีมทาผิว 2. รักษาแผลอักเสบ-ติดเชื้อโดยเร็ว ป้องกันการเป็นแผลเรื้อรัง 3. หลีกเลี่ยงการเกาที่จะเป็นต้นเหตุของการเกิดแผล 4.เมื่อต้องตากแดดนาน ควรใช้ครีมทาผิวเพื่อป้องกันการถูกแดดเผาผิวหนังบริเวณที่ต้องโดนแดด 5. สวมเสื้อผ้าที่แห้ง สะอาด และระบายอากาศได้ดี 6. ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง (เช้า-ก่อนนอน) และบ้วนปากหลังอาหาร 7. ตรวจฟันและช่องปากทุก 6 เืดือน เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานเป็นโรคเหงือกอักเสบ และฟันผุได้บ่อย การดูแลตัวเองเมื่อเจ็บป่วย
1. เวลามีอาการไม่สบาย ควรตรวจระดับน้ำตาลให้บ่อยขึ้น - ตรวจน้ำตาลในเลือดหรือปัสสาวะทุก 2 -4 ชั่วโมง - สำหรับผู้่ที่ใช้อินซูลิน ควรตรวจระดับคีโตนในปัสสาวะด้วย 2. ควรพบแพทย์ด่วน ถ้าตรวจพบน้ำตาลในเลือดเกิน 300 มก/ดล หรือมีน้ำตาลในปัสสาวะ 3+ และมีคีโตนในปัสสาวะร่วมด้วย 3. ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ ถ้ารับประทานอาหารไม่ได้ หรือมีอาการอาเจียนควรมาพบแพทย์ 4. สำหรับผู้ที่ฉีดอินซูลิน อาจต้องปรับขนาดอินซูลินเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ ถ้าไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์ แต่ไม่ควรหยุดฉีดอินซูลิน เพราะอาจเกิดภาวะเป็นกรดในร่างกายได้ การเตรียมตัวและปฏิบัติตนเมื่อไปงานเลี้ยง
1. เลือกทานอาหารตามสัดส่วนที่ควรได้แต่ละมื้อ ทานอาหารพิเศษบางอย่างได้ เช่น เค้ก ไอศรีม แต่ควรลดอาหารอย่างอื่มลงตามหลักอาหารแลกเปลี่ยน 2. ถ้ามีกิจกรรมมากขึ้นสามารถรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นได้ หรือถ้าจำเป็นอาจเพิ่มยาฉีดอินซูลิน (ในผู้ที่ใช้ยาฉีดอินซูลิน) หรือออกกำลังกายเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลสูง 3. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เหล้าผสมน้ำหวานทำให้ระดัีบน้ำตาลในเลือดสูงได้ ในขณะเดียวกันแอลกอฮอลล์สามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ผู้บริโภคอาจหมดสติหรือถึงแก่ชีวิตได้การเตรียมตัวเมื่อต้องเดินทาง
1. พกบัตรปรจำตัวที่แสดงว่าเป็นเบาหวาน หากมีอาการผิดปกติ เช่น น้ำตาลต่ำ ผู้พบเ็นจะได้ช่วยเหลือได้ถูกต้อง 2. เตรียมยารับประทาน หรือยาฉีดอินซูลิน ให้พร้อม 3. พกอาหารติดตัวเสมอ เช่น ผลไม้ แครกเกอร์ น้ำผลไม้ 4. หลีกเลี่ยงการเก็บอินซูลินไว้ในที่อากาศร้อน เช่น ท้ายรถ เพราะอาจทำให้อินซูลินเสื่อมได้ 5. ถ้าคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี ก็ไม่ควรเดินทางหรือหากจำเป็นควรปรึกษาแพทย์ก่อนเดินทางข้อมูลจาก : thaidiabetes - ชมรมเพื่อเด็กและวัยรุ่นเบาหวาน